วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อะดรีนาลีน (Adrenaline)



              อะดรีนาลีน (Adrenaline) เป็น “ฮอร์โมน” สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไตของสัตว์ อดรีนาลีนจะหลั่งออกมาขณะที่ โกรธ, ตกใจ, ตื่นเต้น อย่างรุนแรง เป็นวิวัฒนาการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพทางร่างกายในระยะเวลาอันสั้น เลือดสามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ออกซิเจนสามารถเข้าสู่ปอดได้อย่างรวดเร็ว  Adrenaline เป็นสารแห่งความโกรธ ดุเดือด มีพลัง พร้อมสำหรับการต่อสู้ ป้องกันตัว

             Endorphine ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข อะดรีนาลีน เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อ ระบบการหายใจ หัวใจทำงานอย่างหนักและรวดเร็วเพื่อต่อสู้หรือถอยหนี อะดรีนาลีนจะไปกระตุ้นให้กลไกของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ฮอร์โมนนี้จะถูกระต้นให้หลั่งออกมาเมื่อร่างกายเกิดอารมณ์เครียด เช่น โกรธ ตื่นเต้น เป็นต้น เซลล์ที่พบหลักๆ คือเซลล์ในระบบประสาทครับ ซึ่งตัว Epinephrine จะถูกหลั่งเมื่อถูกระตุ้นด้วยระบบประสาท Sympathetic (Sympatetic Nervous System) ผลของ Epinephrine ในระบบร่างกายคือเพิ่มการเต้นหัวใจและแรงดันเลือด ขยายหลอดลม และเพิ่มระดับน้ำตาล ทำให้เราสามารถทำงานอะไรได้อย่างที่ทำไม่ได้ตอนปรกติ


อะดรีนาลีน (Adrenaline)



เอสโตรเจน (Estrogen)



เอสโตรเจน ฮอร์โมนสำคัญของผู้หญิง

                      "การลดลงของฮอร์โมนของผู้หญิงและของผู้ชายจะมีความแตกต่างกัน โดยผู้หญิงจะมีการลดลงของฮอร์โมนมากกว่าผู้ชาย จะเห็นได้ว่าในช่วงอายุใกล้กัน ผู้หญิงจะดูแก่กว่า เพราะว่าเวลาฮอร์โมนลดลงจะลดเร็ว สำหรับผู้ชายจะค่อย ๆ ลด การเปลี่ยนแปลงของผู้ชายจะช้ากว่า แต่ของผู้หญิงจะชัดมาก"

                         ฮอร์โมนสำคัญของเพศหญิงคือเอสโตรเจน ทำให้เกิดความอ่อนหวาน ผิวพรรณเนียนนุ่ม มีเต้านม เตรียมพร้อมเป็นแม่ เอสโตรเจนมีผลต่ออวัยวะภายในของเราทุกระบบ ที่สำคัญคือสมอง ที่ช่วยในเรื่องความจำเสื่อม เต้านมจะช่วยผลิตน้ำนม และกระตุ้นให้เกิดความเจริญเติบโตเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว หัวใจกับตับ ควบคุมการสร้างคอเลสเตอรอล เป็นตัวช่วยไม่ให้เกิดเมือกไขมันอุดตันในเส้นเลือด

                       ในส่วนของรังไข่คือกระตุ้นให้เกิดประจำเดือน หรือมดลูก ทำให้มีการฝังตัวของตัวอ่อน ช่องคลอดสร้างน้ำเมือกออกมา กระดูก ช่วยลดการเกิดภาวะกระดูกพรุน เพราะฉะนั้นเวลาผู้หญิงเข้าสู่วัยทองจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ผู้หญิงวัยทองจึงเกิดปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ เพราะฮอร์โมนมีเอฟเฟคต่อสมอง ปัญหาขี้หลงขี้ลืม ความจำเสื่อมก็เกิดจาสมอง มีปัญหากระดูกพรุน เพราะมีเอฟเฟคจากกระดูกนั้นเอง เพราะฉะนั้นเอสโตรเจนจึงเป็นตัวสำคัญในการป้องกันโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกระดูกพรุน

                         ถ้าเมื่อไหร่ที่ไม่มีเอสโตรเจน จะเกิดอาการตรงข้ามกับข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมด อายุที่มากขึ้น ทำให้ร่างกายผลิต Estrogen น้อยลง สำหรับหญิงวัยหม ดประจำเดือน ก็จะเจอปัญหานี้ ร่างกายก็จะขาด Estrogen ไปโดยปริยาย ทำให้ผมร่วง หัวล้าน


เอสโตรเจน (Estrogen) 



เซโรโทนิน (Serotonin)



                     
                 เซโรโทนิน (Serotonin)   ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก และควบคุมวงจรการนอนหลับ โดยซีโรโตนินจะทำงานเฉพาะในบริเวณสมองส่วนกลาง (brain rewards system) เมื่อเกิดความรู้สึกพอใจ พบว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีระดับของซีโรโตนินในสมองบริเวณนี้น้อยกว่าปกติ สารอาหารคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว พาสต้า ผักประเภทหัว ธัญพืช และขนมปัง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมทริปโตแฟน (tryptophan) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นเซโรโทนินในสมอง โดยพบว่าภายใน 30 นาทีหลังรับประทานอาหารประเภทดังกล่าวจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสงบได้นานหลายชั่วโมง

                 สารเซโรโทนิน (Serotonin) จะมีความสำคัญมาก เพราะควบคุมทั้งกายและใจ เช่น อุณหภูมิกาย ความดันโลหิต การนอนหลับ การหลั่งฮอร์โมน การรับรู้ความเจ็บปวด ( บางครั้งอาการปวดไม่มากแต่ถ้าอยู่ในสภาวะเครียดล่ะก็ จะรู้สึกถึงความเจ็บปวดรวดร้าวเพิ่มทวีคูณ) แต่ถ้าสารซีโรโตนินผิดปกติด้วยก็ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า หรือเป็นโรคจิตประเภทเดี๋ยวคึกเดี๋ยวเศร้า พวก Bipolar หรือโรคจิตชนิดย้ำคิดย้ำทำ อย่างพระเอกลีโอนาโด ในหนังเรื่อง The Aviator เป็นต้น ซึ่งน่าสงสารมาก แต่ถ้ามีเซโรโตนินเด่น มักจะเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ไวต่อสิ่งกระตุ้นทั้งทางกายและจิตใจ มีทักษะที่ดีต่อการเข้าสังคม อารมณ์มั่นคงดี ไม่แปรปรวน มีสมดุลของการตอบสนองต่อความเครียดได้เป็นอย่างดี


เซโรโทนิน (Serotonin)


เอ็นโดรฟิน (Endorphin)



                 ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นเมื่อเราเกิดความสุขใจ หรือเมื่อเกิดความปีติสุข เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน การออกกำลังกาย การฟังดนตรี การทำงาน ศิลปะ การได้รัก ได้สัมผัสถ่ายทอดความรักซึ่งกันและกัน กระทั่งการได้ร่วมรักกับคนที่เรารัก (โดยพบว่ามีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินอย่างมากในช่วง orgasm) ดังนั้นกิจกรรมใดก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขย่อมมีส่วนส่งเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้เสมอ เอ็นดอร์ฟินเป็นอาวุธที่ธรรมชาติได้มอบให้มนุษย์นำไปใช้ทลายกำแพงความเครียด ความทุกข์ เราจึงควรหากิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุขเพื่อเป็นอาวุธประจำกายของตัวเราเอง

                       ในขณะเดียวกัน คุณเชื่อหรือไม่ว่า แค่ … คำว่า “รัก” จากคนที่รัก ความอิ่มเอิบ เบิกบาน โลกทั้งใบสดสวยด้วยสีชมพู มันก็สามารถทำให้คนเรานั่งยิ้มได้คนเดียวทั้งวัน และเคยสังเกตไหมว่า … ในวันที่คุณรู้สึก ร้อนๆ หนาวๆ แทบลุกจากเตียงไม่ได้ ยาพาราอาจช่วยบรรเทาอาการได้ แต่การกุมมือพร้อมแววตาที่ห่วงใย หรือแม้แต่การแสดงออกถึงความรัก และความห่วงใยจากคนที่เรารักทุกๆ วิธี  จะช่วยให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ช่วยลดอาการเจ็บปวด เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดความตึงเครียด ช่วยสมานแผล ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้น ความรักกับการหลั่งของสารเอ็นดอร์ฟินจึงมีความหมายที่สัมพันธ์กัน

                       นอกจากนี้เอ็นดอร์ฟินยังมีผลต่อการควบคุมการสร้างฮอร์โมนเพศ (sex hormones) และที่สำคัญ สามารถส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune system) ด้วย


เอ็นโดรฟิน (Endorphin) 


โดพามีน (Dopamine)



                  โดพามีน (Dopamine)  สารเคมีในสมองที่จัดอยู่ในกลุ่มแคทีโคลามีน สร้างมาจากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดร็อกซิเลส   เป็นทั้งสารสื่อประสาทที่คอยกระตุ้น โดพามีนรีเซพเตอร์ (dopamine receptor) และเป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยเมื่อโดปามีนถูกหลั่งออกมาแล้วจะส่งผลต่ออารมณ์ให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น  และไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว 
                  
                   โดพามีน  เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจ ความปิติยินดี ความรักใคร่ชอบพอ จากการศึกษาทดลองในหนู พบว่าเมื่อทำให้หนูเกิดความพึงพอใจ ระดับของโดปามีนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งในขณะที่โดปามีนถูกหลั่งออกมาจากสมอง จะทำให้เกิดความสุข เรียกว่า reward circuit หากถูกกระตุ้นด้วยพฤติกรรมซ้ำ ๆ ก็จะหลั่งโดปามีนออกมาตามปกติ  แต่หากไม่ถูกกระตุ้นหรือทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมเดิม สารโดปามีนก็จะหยุดทำงาน ทำให้รู้สึกหงุดหงิด โมโหหรือเซื่องซึมได้

                     ด้วยเหตุนี้บางครั้งจึงมีการจัด โดปามีนเป็นสารเคมีแห่งรัก (Chemicals of love)  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือกหรือจับคู่ ซึ่งมีผลงานวิจัยอ้างอิงจากมหาวิทยาลัยอีโมรี ได้ทำการทดลองโดยฉีดโดปามีนใส่หนูตัวเมียทึ่เอามาจากหนูตัวผู้ตัวหนึ่ง  ซึ่งปรากฏว่าหนูตัวเมียเลือกจับคู่กับหนูตัวผู้ที่เป็นเจ้าของโดปามีนนี้จากกลุ่มหนูทั้งหมดที่อยู่รวมกัน


โดพามีน (Dopamine)


เทสโทสเทอโรน (Testosterone)



             "เทสโทสเตอโรน" เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นฮอร์โมนเพศที่สำคัญที่สุดของผู้ชาย ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นความต้องการทางเพศให้ตื่นตัวขึ้น แต่ทว่า...เจ้าเทสโทสเตอโรน ยังมีบทบาทอื่น ๆ ที่สำคัญกับสุขภาพร่างกายของหนุ่ม ๆ อีกด้วย ดังนั้นกระปุกดอทคอมขออาสาพาไปรู้จักกับฮอร์โมนชนิดนี้กันให้มากขึ้น เพื่อจะได้ทราบว่ามันมีผลกับคุณอย่างไรบ้าง

 ทำให้คุณคิดถึงเรื่องเพศ

           ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาสมองตั้งแต่เรายังเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดาเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะความสามารถในการคำนวณพื้นที่และทักษะด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ชายชอบพิจารณาเรื่องรูปร่างและขนาดหน้าอกผู้หญิง รวมทั้งเสื้อผ้าที่พวกเธอเลือกใส่ด้วย

 สร้างความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ

              เมื่ออายุเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น พัฒนาทางร่างกายภายนอกของผู้ชายจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เริ่มทุ้มใหญ่ ขนตามร่างกายก็เริ่มขึ้น รวมทั้งเริ่มสนใจเพศตรงข้ามมากขึ้น

  เทสโทสเตอโรนมีผลต่อความต้องการในตัวคู่ครอง

            เทสโทสเตอโรนส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิด และความคาดหวังในตัวที่มีต่อคนรัก เช่น ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ (แต่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน) มักมีความสุขกับการลงหลักปักฐานใช้ชีวิตครอบครัวอย่างเรียบง่ายกับภรรยา แต่กลับกันสำหรับคนที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูง (มาก) พบว่ามีปัญหาการหย่าร้างมากกว่า รวมทั้งแอบนอกใจไปมีบ้านเล็กบ้านน้อยอีกด้วย นอกจากนี้ยังคิดว่าการแต่งงานเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเสมอ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าชายทั้งสองกลุ่มมีความต้องการในปริมาณที่ต่างการ
   
 เทสโทสเตอโรนเกิดจากการสังเคราะห์ของคอเลสเตอรอล

           โดยคอเลสเตอรอลจะเริ่มมีการเปลี่ยนสภาพเป็นโปรเจสเตอโรนก่อน จากนั้นเอนไซม์จะ
สังเคราะห์ออกมาเป็นฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในท้ายที่สุด

 การยกน้ำหนักช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้

            ทางด้านผู้เชี่ยวชาญค้นพบว่า ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน   ของผู้ที่ออกกำลังด้วยการยก
น้ำหนักสูงขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งนั่นหมายความว่าการออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรง (Strength training) เพื่อเสริมกล้ามเนื้อและความแข็งแกร่งด้วยวิธีการต่าง ๆ มีผลทำให้เทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น


 เทสโทสเทอโรน (Testosterone)